วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

แบบบันทึกอนุทินครั้งที่ 16

แบบบันทึกอนุทิน
วันศุกร์ที่ 27 กันยายน 2556
ครั้งที่ 16
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.40 - 12.00 น.



        วันนี้เป็นวันเรียนคาบสุดท้าย อาจารย์ให้ทำ mind mapping สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ช่วงท้ายคาบหลังจากทำกิจกรรมนี้เสร็จอาจารย์สรุปแนวข้อสอบของวิชานี้ให้ฟัง













++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

แบบบันทึกอนุทินครั้งที่ 15

แบบบันทึกอนุทิน
วันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2556
ครั้งที่ 15
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.50 - 12.00 น.



              อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่มทำหน่วยการเรียนรู้ มากลุ่มละ 1 หน่วย กลุ่มดิฉันทำเกี่ยวกับหน่วยดอกไม้ โดยจะแบ่งเป็น ดอกไม้อาเซียน กับ ดอกไม้ในวันสำคัญ


1.ดอกไม้อาเซียน
  ประเทศมาเลเซีย        - ดอกชบา
  ประเทศลาว                 - ดอกจำปา 
  ประเทศไทย                - ดอกราชพฤกษ์
  ประเทศเวียดนาม       - ดอกบัว
  ปรเทศพม่า                  - ดอกประดู่
  ประเทศสิงคโปร์          - ดอกกล้วยไม้แวนด้า
  ประเทศอินโดนีเซีย    - ดอกกล้วยไม้ราตรี
  ประเทศบรูไน              - ดอกซิมปอร์
  ประเทศกัมพูชา          - ดอกลำดวน
  ประเทศฟิลิปปินส์       - ดอกพุดแก้ว

2.ดอกไม้ในวันสำคัญ
  วันพ่อ                    - ดอกพุทธรักษา
  วันแม่                     - ดอกมะลิ
  วันไหว้ครู              - ดอกเข็ม
  วันทหารผ่านศึก  - ดอกป๊อปปี้
  วันพระ                  - ดอกบัว
  วันวาเลนไทน์      - ดอกกุหลาบ


ชื่อแผน   กุหลาบสื่อรัก
วัตถุประสงค์   เพื่อให้เด็กได้รู้ว่าดอกกุหลาบสื่อความหมายแทนความรักในวันวาเลนไทน์
สาระการเรียนรู้   การใช้ดอกกุหลาบเป็นสัญลักษณ์แสดงความรัก ที่ทุกคนยอมรับอย่างเป็นสากล
วิธีดำเนินการ
ขั้นนำ   ให้เด็กได้รู้จักดอกกุหลาบและความหมายของดอกกุหลาบ
ขั้นสอน   คุณครูให้ดอกกุหลาบกับเด็ก แล้วให้เด็กนำไปมอบให้กับเพื่อนที่เขารัก
ขั้นสรุป    คุณครูและเด็กสนทนาซักถามเกี่ยวกับดอกกุหลาบวันวาเลนไทน์
การประเมิน   เด็กสามารถตอบคำถามได้ จากการสังเกตเด็กของคุณครู  











 
**************************************************************

แบบบันทึกอนุทินครั้ง 14

แบบบันทึกอนุทิน
วันศุกร์ที่ 13 กันยายน 2556
ครั้งที่ 14
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.35 - 12.00 น.


                วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่มกัน กลุ่มละ 8 คน อาจารย์ให้กระดาษมา 1 แผ่น ให้คิดศูนย์ในห้องเรียนที่เสริมสร้างพัฒนาการทางภาษาของเด็ก กลุ่มดิฉันเลือกทำศูนย์บทบาทสมมติ อาชีพในฝันของเด็กๆ เมื่อเด็กได้เข้ามาเล่นในศูนย์นี้ เด็กจะได้พูดคุยสนทนาระหว่างกันเกี่ยวกับอาชีพที่ตนเองใฝ่ฝัน

                ในมุมบทบาทสมมตินี้ มีทั้งหมด 4 อาชีพ
1.มุมอาชีพชาวนา เข้าใจว่าอาชีพทำอะไรบ้าง ได้รูว่าข้าวแต่ละเม็ดที่เรารับประทานได้มายากลำบากแค่ไหน รู้คุณค่าของข้าวมากขึ้น
2.มุมอาชีพคุณครู  เด็กได้เล่นบทบาทสมมติเป็นครูต้องพูดคุยสนทนากับนักเรียน ได้รู้ว่าครูมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง
3.มุมอาชีพทหาร เด็กได้รู้ว่าทหารเป็นรั้วของชาติ ต้องช่วยกันปกป้องดูแลบ้านเมือง
4.มุมอาชีพคุณหมอ คุณหมอต้องสื่อสารกับคนป่วย ว่าคนป่วยมีอาการอะไรบ้าง จะได้ช่วยเหลือรักษาคนป่วยได้

   ทุกมุมจะส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาอยู่ในตัวของแต่ละมุมและทำให้เด็กได้รับความสนุกสนานกับการแสดงบทบาทสมมติในมุมต่างๆ






วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

แบบบันทึกอนุทินครั้งที่ 13

แบบบันทึกอนุทิน
วันศุกร์ที่ 6 กันยายน 2556
ครั้งที่ 13



วันนี้ดิฉันไม่ได้ไปเรียน เนื่องจากเจ็บปาก ปากบวมอักเสบมาเป็นเวลาหลายวัน แล้วยังไม่ได้ไปหาหมอ




วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

แบบบันทึกอนุทินครั้งที่ 12

แบบบันทึกอนุทิน
วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม 2556
ครั้งที่ 12
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.35 - 12.00 น.


                   วันนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 - 6 คน ช่วยกันคิดสื่อการสอนหรือเกมการศึกษาที่ช่วยพัฒนาทางด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย หลังจากนั้นส่งตัวแทนออกมาพูดเกี่ยวกับสื่อที่ได้ทำว่าเล่นอย่างไร สามารถพัฒนาเด็กในด้านใดได้บ้าง



ภาพกิจกรรมในกลุ่ม









" ผลงานของกลุ่มดิฉัน "







แบบบันทึกอนุทินครั้งที่ 11

แบบบันทึกอนุทิน
วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2556
ครั้งที่ 11
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 - 12.20 น.



            วันนี้ดิฉันได้ความรู้เกี่ยวกับ สื่อการเรียนรู้ทางภาษา คือ วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการต่างๆ ที่กระตุ้นส่งเสริม จูงใจให้เด็กเกิดความสนใจ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ทางภาษา

ความสำคัญของสื่อการเรียนรู้ทางภาษา
 เด็กเรียนรู้ได้ดีจากประสาทสัมผัส  เข้าใจได้ง่าย และ จำได้ง่าย เร็ว เป็นรูปธรรม

ประเภทสื่อการสอน
1. สื่อสิ่งพิมพ์ คือ สื่อที่ใช้ระบบการพิมพ์ เด็กได้เรียนรู้ตัวอักษร การใช้คำ ประโยค
2. สื่อวัสดุ อุปกรณ์ คือ สิ่งของต่างๆ ที่เป็นของจริง หุ่นจำลอง ซึ่งสื่อชนิดนี้เป็นสื่อที่ดีที่สุด
3. สื่อโสตทัศนูปกรณ์ คือ สื่อที่นำเสนอด้วยเครื่องมือ เช่น คอมพิวเตอร์
4. สื่อกิจกรรม คือ วิธีการใช้ในการฝึกปฏิบัติ ทักษะ ใช้กระบวนการคิดในการทำกิจกรรม
5. สื่อบริบท คือ สื่อที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์ สภาพแวดล้อมและห้องเรียน


กิจกรรมในห้องเรียน คือ ประดิษฐ์สื่อการสอน เด็กสามารถรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษและสามารถรู้ความหมายจากภาพ เป็นสื่อที่สามารถนำไปใช้ได้จิง











แบบบันทึกอนุทินครั้งที่ 10

แบบบันทึกอนุทิน
วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม 2556
ครั้งที่ 10 
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 - 12.20 น.




     สำหรับวันนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 4 กลุ่มเท่าๆกัน ประดิษฐ์สื่อการสอนเรื่องอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ สำหรับกลุ่มของดิฉันได้ทำเป็นภาพ Pop - Up  รูปกบ ระบายสีให้สวยงาม ติดภาพประเทศแล้วเขียนบอกภาษาทักทายของประเทศนั้นๆ รูปกบสามารถขยับปากได้ ใช้ในการเล่านิทานให้เด็กฟังได้


ภาพการทำกิจกรรม













นี้คือชิ้นผลงานของดิฉันที่ได้ทำ





ภาพกิจกรรมชิ้นงานของกลุ่มอื่นๆ














++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แบบบันทึกอนุทินครั้งที่ 9

แบบบันทึกอนุทิน
วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2556
ครั้งที่ 9
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 - 12.20 น.



                สำหรับวันนี้อาจารย์ให้ร่วมกันแต่งนิทาน 1 เรื่อง พอเพื่อนๆทั้งช่วยกันแต่งเสร็จแล้วก็แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 - 6 คน นำกระดาษที่อาจารย์ให้มาวาดภาพเกี่ยวกับช่วงตอนของนิทานที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมาย วาดภาพระบายสีตกแต่งให้เรียบร้อยสวยงาม


ภาพกิจกรรมในห้องเรียน


























วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แบบบันทึกอนุทินครั้งที่ 8

แบบบันทึกอนุทิน

วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2556

ครั้งที่ 8

เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 - 12.20 น.







สอบกลางภาค








วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แบบบันทึกอนุทินครั้งที่ 7

แบบบันทึกอนุทิน

วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2556

ครั้งที่ 7 

เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 - 12.20 น.


              การประเมินภาษาเด็ก

1.  ใช้เครื่องมือที่หลากหลาย

2.  เน้นความก้าวหน้าของเด็ก

     -  บันทึกสิ่งที่เด็กทำได้
     -  ทำให้สามารถส่งเสริมเด็กให้ก้าวหน้าสู่พัฒนาการทางภาษาในระดับที่สูงขึ้นได้

3.  ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย

4.  ให้เด็กมีโอกาสประเมินตนเอง

5.  ครูให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลงาน

6.  ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล


              ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษา


-  การเขียนตามคำบอก
-  ช่วยเด็กเขียนบันทึก
-  อ่านนิทานร่วมกัน
-  อ่านคำคล้องจอง
-  ร้องเพลง










กิจกรรมในห้องเรียน


  ให้นักศึกษาวาดรูปอะไรก็ได้ตามใจชอบหรืออยากวาด พอวาดเสร็จแล้วอาจารย์ให้ออกไปเล่าเป็นนิทาน 1 เรื่องของห้อง ให้สามารถเล่าต่อจากเพื่อนที่พูดมาให้เป็นนิทาน










++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบบันทึกอนุทินครั้งที่ 6

แบบบันทึกอนุทิน
วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2556
ครั้งที่ 6
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 - 12.20 น.


การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะภาษา


            - ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยของภาษา
            - การประสมคำ
            - ความหมายของคำ




ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย

            -   สนใจ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบข้าง
            -   ช่างสงสัย ช่างซักถาม
            -   ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
            -   เลียนแบบคนรอบข้าง                               
                                  




การสอนภาษาแบบธรรมชาติ

           การสอนภาษาแบบธรรมชาติ คือ การสอนแบบบูรณาการ สอนในสิ่งที่เด็กสนใจสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและมีอยู่ในชีวิตประจำวัน โดยสอดเเทรกทักษะด้านต่างๆให้เด็กไปพร้อมกับการทำกิจกรรม ไม่เข้มงวดในการสอนไม่บังคับเด็กในสิ่งที่เด็กไม่อยากทำ ยอมรับในภาษาที่เด็กสื่อสารออกมาและคอยชี้เเนะไปในทางที่ถูกต้อง


                         หลักการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ



1. การจัดสภาพแวดล้อม

2. การสื่อสารที่มีความหมาย

3. การเป็นแบบอย่าง

4. การตั้งความคาดหวัง

5. การคาดคะเน

6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ

7. การยอมรับนับถือ

8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น




แบบบันทึกอนุทินครั้งที่ 5

แบบบันทึกอนุทิน
วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม 2556
ครั้งที่ 5
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 - 12.20 น.



                  วันนี้เรียนเรื่องเกี่ยวกับองค์ประกอบของภาษา แนวคิดของนักพฤติกรรมนิยมต่างๆ หลังจากนั้นเรียนเสร็จเราก็มาทำกิจกรรมกัน เกี่ยวกับของที่เด็กชอบที่สุดในสมัยตอนเป็นเด็ก



สำหรับดิฉันของที่ชอบตอนเด็กก็คือ  " ตุ๊กตาบาร์บี้ "







                     สำหรับสิ่งที่ดิฉันชอบนี้ได้จากงานประจำปีของจังหวัด ซึ่งตอนนั้นพ่อกับแม่พาฉันและพี่ๆไปเที่ยวงาน ตอนที่ฉันเห็นฉันอยากได้ตุ๊กตาแบบนี้มากๆ จึงร้องไห้ให้พ่อกับแม่ซื้อให้ก็เป็นผลสำเร็จแม่ของฉันซื้อเจ้าตุ๊กตาให้จริงๆ ดีใจมากหลังจากที่ได้มันมาฉันถือมันตลอด เอาเจ้าตุ๊กตาตัวนี้ไปด้วยเสมอ เล่นกับตุ๊กตาตัวนี้ทุกวันกับเพื่อนข้างบ้านเพราะเรามีตุ๊กตาแบบนี้เหมือนกัน วันนึงฉันเบื่อชุดของตุ๊กตาที่ติดมากับตัวมันตั้งแต่ซื้อมา เลยเอาเสื้อผ้าของตัวเองมาตัดและเย็บให้เจ้าตุ๊กตาใส่ โดนแม่ว่าใหญ่เลยชุดเสื้อผ้าเอามาตัดเล่น ฉันร้องไห้เสียใจมาก แต่แม่บอกว่าถ้าจะตัดต้องเอาเฉพาะที่เราไม่ใส่แล้วเท่านั้น แต่ปัจจุบันเจ้าตุ๊กตาตัวนี้ก็ไม่อยู่แล้วพัง ชำรุด ไปตามกาลเวลา





.......................................................................................




แบบบันทึกอนุทินครั้งที่ 4

แบบบันทึกอนุทิน
วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2556
ครั้งที่ 4
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 - 12.20 น.




                สำหรับวันนี้ต้องนำงานที่ได้รับมอบหมายจากอาทิตย์ที่แล้ว ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ส่วนของกลุ่มดิฉันได้เกี่ยวกับเรื่ององค์ประกอบของภาษาทางด้านภาษา  เนื้อหาขององค์ประกอบมีทั้งหมด 4 อย่าง ตามที่ดิฉันได้ทำมาก็จะมีดังนี้



ภาษา มีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ


       1. เสียง  ประกอบด้วยเสียงสระ  เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์ แต่บางภาษาก็ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ เช่น ภาษาบาลี สันสกฤษ เขมร อังกฤษ

       2. พยางค์และคำ  พยางค์เป็นกลุ่มเสียงที่เปล่งออกมาแต่ละครั้ง จะประกอบด้วย เสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ มีความหมายหรือไม่มีก็ได้  ส่วนคำจะเป็นการนำเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์มาประกอบกัน ทำให้เกิดเสียงและมีความหมาย คำจะประกอบด้วยคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้

       3. ประโยค เป็นการนำเอาคำมาเรียงกันตามโครงสร้างของภาษาที่กำหนดเป็นกฎเกณฑ์ตามระบบของหลักไวยากรณ์ของแต่ละภาษา และทำให้ทราบหน้าที่ของคำ

       4. ความหมาย โดยความหมายของคำแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
         
           4.1  ความหมายตามตัวหรือความหมายนัยตรง  เป็นความหมายของคำนั้นๆเป็นคำที่ถูกกำหนดและผู้ใช้ภาษามีความเข้าใจตรงกัน
           4.2  ความหมายในประหวัดหรือความหมายเชิงอุปมา  เป็นความหมายเพิ่มจากความหมายนัยตรง








แบบบันทึกอนุทินครั้งที่ 3

แบบบันทึกอนุทิน
วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2556
ครั้งที่ 3




                       สำหรับในวันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยได้กำหนดให้วันนี้เป็นวันกิจกรรมรับน้องใหญ่ของทางมหาวิทยาลัย



ภาพกิจกรรมโดยรวมในวันรับน้องนะคะ







หลังจากแต่งหน้าตาทำผมให้น้องๆเสร็จกัน







( สำหรับวันนั้นเราเหนื่อยแต่ก็สนุกดีค่ะ ใน 1 ปี จะมีกิจกรรมอย่างนี้ครั้งเดียว )





แบบบันทึกอนุทินครั้งที่ 2

แบบบันทึกอนุทิน
วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2556
ครั้งที่ 2 
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 - 12.00 น.

    
           วันนี้อาจารย์สอนเรื่องความหมายของภาษา ความสำคัญของภาษา ทักษะของภาษามี 4 แบบ
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget สรุปได้ดังนี้


ภาษา หมายถึง การสื่อความหมาย ภาษาเป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดและความรู้สึก

ความสำคัญของภาษา

     ภาษา เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
     ภาษา เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
     ภาษา เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
     ภาษา เป็นเครื่องมือในการช่วยจรรโลงจิตใจ

ทักษะของภาษามี 4 แบบ

    - ทักษะการฟัง
    - ทักษะการพูด
    - ทักษะการอ่าน
    - ทักษะการเขียน

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget  

กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 2 กระบวนการ คือ
     - การดูดซึม Assimalation
     - การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ Auommodation
 Piaget แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญาซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษาดังนี้


     1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส
     2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล
     3. ขั้นการคิดแบบรูปธรรม
     4. ขั้นการคิดแบบนามธรรม

  พัฒนาการภาษาของเด็ก

               เด็กค่อยๆสร้างความรู้และเข้าใจเป็นลำดับขั้นครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจและยอมรับหากพบเด็กใช้คำศัพท์ไม่ถูกต้องควรมองว่านั้นเป็นกระบวนการเรียนรู้ภาษาของเด็ก




*** หลังจากสอนเสร็จแล้ว เราก็แบ่งกลุ่มกันส่งตัวแทนไปรับใบงานจากอาจารย์ เพื่ออาทิตย์ต่อไปนำมาเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน





วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบบันทึกอนุทิน ครั้งที่ 1


แบบบันทึกอนุทิน
วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน  2556 
ครั้งที่ 1   
เวลาเข้าสอน 08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30-12.20 น.







*..............................................................*



Mind Mapping เกี่ยวกับจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย



Mind  Mapping 

เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย 


  

                   สิ่งที่ได้รับจากการเรียนครั้งแรกเกี่ยวกับการจัดประสบประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย แบ่งออกมาได้ 3 แบบ 1. การจัดประสบการณ์ เช่น หลักการ วิธีการ การประเมินผล สภาพสิ่งแลดล้อม เป็นต้น 2. ภาษา เช่น การพูด การอ่าน การฟัง การเขียน ท่าทาง 3. เด็กปฐมวัย เช่น เพศ ระดับชั้น แรกเกิด - 6 ปี หรือสามารถแยกออกไปได้อีกจากความคิดที่เรามีอยู่




คำอธิบายรายวิชา



คำอธิบายรายวิชา 
การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย 
วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน  2556  
ครั้งที่ 1  เวลาเรียน  08.30-12.20 น.
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิน 







*- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -*